การสอนคณิตศาสตร์
วันจันทร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556
การหารทศนิยม
การหารทศนิยม
การหารทศนิยม เมื่อตัวหาร เป็นจำนวนเต็ม เราสามารถนำไปหารได้ทันที
ในกรณี ตัวหารเป็นทศนิยม เราต้องทำให้เป็นจำนวนเต็มก่อน ทำได้ 2 วิธี คือ
- การคูณ ด้วย จำนวนเต็ม 10 ,100 ,1000 ... ทั้งเศษและส่วน หรือ
- ใช้การเลื่อนจุดทศนิยมทั้งเศษและส่วน
การหารทศนิยม
เราสามารถทำการหารทศนิยมโดย มีหลักดังนี้
- การหาร กรณี ที่ตัวหารเป็นจำนวนเต็ม
เราสามารถหารได้ตามปรกติ เมื่อผ่านจุดทศนิยมให้ใส่จุดทศนิยมที่ คำตอบ
คำตอบที่ได้มีจำนวนทศนิยมเท่าเดิม
| ||
ตัวอย่าง ทำการหาร ต่อไปนี้
วิธีทำ
การหาร ด้วย 8 เป็นจำนวนเต็มเราสามารถหารได้ตามปรกติ เมื่อผ่านจุดทศนิยม
ให้ใส่จุดทศนิยม และคำตอบที่ได้ มีจำนวนตำแหน่งของทศนิยม เท่าเดิม คือ 2 ตำแหน่ง
คำตอบ คือ 5.02
| ||
- การหาร กรณีที่ตัวหาร เป็นจำนวนทศนิยม
ตัวหารเมื่อเป็นทศนิยม ทำให้การหารดูไม่สะดวก
ดังนั้นวิธีที่ง่ายที่สุดคือ เลื่อนจุดทศนิยมของตัวหารให้ เป็นจำนวนเต็ม
ดังตัวอย่าง ทำการหาร ต่อไปนี้
วิธีทำ
จากโจทย์ 2.5 เป็นทศนิยม
" ทำตัวหาร ที่เป็นทศนิยมให้เป็นจำนวนเต็มก่อน แล้วหารปรกติ "
เราจะทำให้ทศนิยมหมดไป เป็น 25
โดย ต้องนำ 10 มาคูณ ทั้งตัวหารและตัวตั้ง
ดังนั้น เราสามารถทำการหารได้ ทันที
**** นอกจากนี้เรายังสามารถใช้วิธีเลื่อนจุดทศนิยม
เลือกวิธีตามชอบใจ ครับ ทำการหารได้ตามปรกติ
คำตอบ คือ 1.5
| ||
ตัวอย่าง ทำการหาร ต่อไปนี้
วิธีทำ
จากโจทย์ 0.45 เป็นทศนิยม
" ทำตัวหาร ที่เป็นทศนิยมให้เป็นจำนวนเต็มก่อน แล้วหารปรกติ "
เราจะทำให้ทศนิยมหมดไป เป็น 45
โดย ต้องนำ 100 มาคูณ ทั้งตัวหารและตัวตั้ง
ดังนั้น เราสามารถทำการหารได้ ทันที
**** นอกจากนี้เรายังสามารถใช้วิธีเลื่อนจุดทศนิยม
เลือกวิธีตามชอบใจ ครับ ทำการหารได้ตามปรกติ
คำตอบ คือ 9.63
|
วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2556
การหาร
การหาร
การหารในความหมายที่เข้าใจได้อย่างง่าย ๆ ดังตัวอย่าง
เช่น มี เงินอยู่ สิบบาทต้องการแบ่งให้ เพื่อน 2 คนคนละเท่า ๆกันจะได้คนละกี่บาท ?
ไข่ 20 ใบใส่ในกล่อง 10 ใบ ใบละเท่า ๆ กัน จะได้ว่าในกล่องจะมีไข่กี่ใบ ?
อธิบาย การหารโดยใช้รูปภาพ
ตัวอย่าง
มีฟักทองอยู่ 12 ผล ต้องการแบ่งให้ เป็นจำนวนเท่า ๆ กัน ดังนี้
แบ่งเป็น สองส่วน เท่า ๆ กัน จะได้ อ่านว่า" สิบสอง หาร สอง"
ได้ผลลลัพธ์ ดังรูป
ดังนั้น จะได้ว่า
อ่านว่า" สิบสอง หาร สอง เท่ากับ หก "
มาดู แบ่งเป็น สาม ส่วน เท่า ๆ กัน จะได้
ดังนั้น จะได้ว่า
มาดู แบ่งเป็น สี่ ส่วน เท่า ๆ กัน จะได้
ดังนั้น จะได้ว่า
มาดู แบ่งเป็น หก ส่วน เท่า ๆ กัน จะได้
ดังนั้น จะได้ว่า
แบ่งเป็น สองส่วน เท่า ๆ กัน จะได้ อ่านว่า" สิบสอง หาร สอง"
ได้ผลลลัพธ์ ดังรูป
ดังนั้น จะได้ว่า
อ่านว่า" สิบสอง หาร สอง เท่ากับ หก "
___________________________________
มาดู แบ่งเป็น สาม ส่วน เท่า ๆ กัน จะได้
ดังนั้น จะได้ว่า
___________________________________
มาดู แบ่งเป็น สี่ ส่วน เท่า ๆ กัน จะได้
ดังนั้น จะได้ว่า
___________________________________
มาดู แบ่งเป็น หก ส่วน เท่า ๆ กัน จะได้
ดังนั้น จะได้ว่า
___________________________________
วันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2556
การคูณ
ความหมายของการคูณ
♦ตัวอย่างสถานการณ์ที่แสดงถึงความหมายของการคูณ
(1) การคูณในแง่ของการบวกซ้ำ ๆ กันของจำนวนที่เท่ากัน หรือการรวมกันของกลุ่มที่เท่ากัน เช่น
o 3 + 3 + 3 + 3 = 4 ×3 หรือ 4 กลุ่มของ 3
o มีนักเรียน 3 กลุ่ม กลุ่มละ 5 คน ดังนั้นมีนักเรียน 3×5 = 15 คน
(2) การคูณในแง่ของอัตรา เช่น
o ถ้ารถยนต์แล่นเป็นเวลา 4 ชั่วโมงด้วยอัตราเร็ว 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมงแล้ว รถยนต์จะแล่น
ได้ระยะทางทั้งหมด 4×60 = 240 กิโลเมตร
o ถ้าสมุดราคาเล่มละ 8 บาทแล้ว สมุด 3 เล่มจะราคา 3×8 = 24 บาท
(3) การคูณในแง่ของการเปรียบเทียบว่าเป็นกี่เท่า เช่น
o ตาลมีตุ๊กตาหมี 4 ตัว ติ๋วมีตุ๊กตาหมีเป็น 3 เท่าของตาล ดังนั้นติ๋วมีตุ๊กตาหมี 3×4 = 12 ตัว
(4) การคูณในแง่ของการหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากโดยการนับตารางหน่วย เช่น
o กำหนดให้ 1 ช่อง แทนพื้นที่ 1 ตารางหน่วย รูปสี่เหลี่ยมมุมฉากที่ประกอบด้วย
ตารางที่มี 3 แถว แต่ละแถวมี 7 ช่อง จะมีพื้นที่ 3×7 = 21 ตารางหน่วย
(5) การคูณในแง่ของการหาจำนวนแบบของการจับคู่ที่เป็นไปได้ทั้งหมด เช่น
o ถ้ามีเสื้อ 2 ตัว กับ กางเกง 3 ตัว จะสามารถจับคู่เสื้อกับกางเกงแบบต่าง ๆ กันได้ทั้งหมด
2×3 = 6 แบบ
วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)